คลังเก็บหมวดหมู่: บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

(แบบย่อ)
ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร
อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต
มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ
สะทา โสตถิง กะโรนตุโน

คาถาอัญเชิญท้าวมหาราชทั้ง 4 และคาถาชุมนุมเทวดา

ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวธตรฏฐ์

แปล คาถาบูชาท้าวธตรฏฐ์ (ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรุฬหก

แปล คาถาบูชาท้าววิรุฬหก (ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรูปักษ์

แปล คาถาบูชาท้าววิรูปักษ์ (ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมดล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ

แปล คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

ตั้งนะโม ๓ จบ

ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุโน

สวดขอให้ท่านคุ้มครอง รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง และอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคล อำนาจ บารมี โภคทรัพย์ รวมถึงมงคลทั้งปวง

คาถา โองการท้าวมหาราชทั้งสี่ (ท้าวจตุโลกบาล)

ปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ

ป้องกัน ทั้งโรคภัย สัตว์ อสรพิษ อสูร ภูตผี ปีศาจ และมนุษย์

บทชุมนุมเทวดา

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบกและที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐที่เรากล่าวอยู่นี้….)

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

สวดภาวนา 3 ครั้ง

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม..

สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น ต่างนับถือท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จะเชิญมารักษางานต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองวัด งานทำบุญ การขอความคุ้มครองในวันปีใหม่ทุกปี

ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 จีน (ท้าวจาตุมหาราช) “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” “ซือต้าเทียนหวัง”

พระพุทธเจ้าทรงมอบ พระธรรม ไว้แก่ ท้าวจาตุมหาราช หรือ ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 เก็บรักษา ให้เป็นผู้คุ้มครองรักษาพระศาสนา และนอกจากนี้ ยังพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และพุทธบริษัทอีกด้วย หากผู้ใดยึดมั่นใน พระธรรม ก็จะอำนวนความสุขสวัสดิ์

  1. ท้าวธตรฐมหาราช “ฉือกั๋วเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศบูรพา เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่าคนธรรพ์ (เที้ยว คือ ถูกต้อง) ถือพิณเป็นอาวุธ
  2. ท้าววิรุฬหกมหาราช “เจิงจ่างเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศทักษิณ เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่ากุมภัณฑ์ (โหว คือ ฝน) ถือร่มเป็นอาวุธ
  3. ท้าววิรุฬปักข์มหาราช “กว่างมู่เทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศปัจฉิม เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่านาค (ฮวง คือ ลม) ถือดาบและงูเป็นอาวุธ
  4. ท้าวกุเวรมหาราช (เวสสุวรรณ) “ตัวเหวินเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศอุดร เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่ายักษ์ (สุง คือ ราบรื่น) ถือเจดีย์เป็นอาวุธ