เรื่องทั้งหมดโดย admin

#ตำราหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

#ตำราหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ธาตุทั้ง ๔
นะอุอะมะพะทะนะ ธาตุดิน
ทะอุอะนะมะพะทะ ธาตุน้ำ
พะอุอะทะนะมะพะ ธาตุลม
มะอุอะพะทะนะมะ ธาตุไฟ

ถ้าจะทำให้คนจำไม่ได้หรือเรียกว่าแปลงกาย เดินไปไหนคนเห็นเป็นคนแปลกหน้า
เมื่อทำแล้วเกิดเป็นเสน่ห์มหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรีด้วย ท่านให้เอาแป้งหอม
มาเสก ๗ คาบ ทาหน้าทาตามตัวแล้วเสกเครื่องแต่งกายอีก ๗ คาบ แล้วสวมใส่จะมีความ
สง่าน่าเกรงขามท่านให้เสกด้วยคาถานี้

อะวิสุนุสสา นุสติอะฯ

– แล้วเอาธาตุดินกับธาตุลมเสกหนุนไปด้วยจนครบ ๗ คาบ จะสำเร็จความตามมุ่งหวัง
ทุกประการ

– ถ้าจะเสกน้ำมันหอม น้ำมันจันทร์ ขี้ผึ้ง ให้เดือดเหมือนตั้งไฟร้อนๆ จะมีอานุภาพทางเมตตา
มหานิยม คงทนต่อปืน ไฟ ทุกชนิด อมน้ำมันใส่ปากพ่นสะเดาะโซ่ตรวนหลุดออกสิ้น ท่าน
ให้เอาธาตุไฟ เสกกับธาตุน้ำ ๓-๗ คาบ

-ถ้าจะผูกหุ่นพยนต์ให้เป็นคนเฝ้าบ้านหรือจะใช้สิ่งใดทุกประการ ท่านให้เอาไม้ไผ่หามผี
ตายวันเสาร์เผาวันอังคาร มาจักเป็นตอกผูกเป็นหุ่นรูปคน คือเอาผ้าขาวหรือหญ้าคาก็ได้
แต่ต้องเอาถ่านไปเผาผียัดใส่อกหุ่นเมื่อจะเอาถ่านไฟที่เผา เสร็จแล้วจะต้องทำการเซ่น
เสียก่อนเอาเหล้า ๑ ขวด ไก่ ๑ ตัวเซ่น แล้วเอาไม้หามผีมาทำอาวุธให้หุ่นถือ จะเป็นมีด
หรือไม้ก็ตาม แล้วจึงเสกคาถาบริกรรม ๑๐๘ คาบ ว่าคาถาดังนี้

ปฏิรูปัง ปฏิรูปัง ปฏิรูปัง ฯ

แล้วเอาธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หนุนไปด้วย เสกไปจนหุ่นนั้นลุกขึ้น วันแรกจะต้องทำวันเสาร์
หรือวันอังคารกลางดึกสงัดจึงจะเป็น

– ถ้าจะระเบิดลงไปเดินในมหาสมุทร ท่านให้เขียนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใส่กระดาษฟางทำ
ไส้เทียนขี้ผึ้งแท้ ทำ ๑๒ เล่ม ๆ ละหนัก ๑ บาท แล้วเสกด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ ๑๐๘ คาบ
จุดเทียนเดินลงในน้ำบริกรรมด้วยธาตุ ลม ดิน ไฟ จะเดินไปไหนให้เดินบริกรรมไปจนถึงจุดหมาย

– ถ้าจะล่องหนหายตัวกำบังกาย เมื่อจวนตัวให้เอาไม้หรือใบยไม้ก็ได้ ใส่ปากกัดไว้
บริกรรมด้วยธาตุ ดิน กับธาตุลม ๗ คาบเดินไปคนไม่เห็นตัว ถ้าใครเห็นพูดไม่ออกเป็นจังงัง

– ถ้าเขาวิ่งไล่เข้ามาจวนตัวหนีไม่ทัน ให้เสกผ้าหรือของสิ่งใดก็ได้ติดตัวไปด้วยนั้น เสก ๓ คาบ
ทิ้งไว้ คนตามมาจะเห็นเป็นตัวเราอยู่ที่นั่น ภาวนาด้วยธาตุดินกับธาตุลม แล้วบริกรรมวิ่งหนีไป
เขาไม่เห็นตัวเลย

ถ้าจะเสดาะลูกตายในท้องให้ออก ทำน้ำมนต์ให้กินด้วยธาตุน้ำกับธาตุลม ๗ คาบ
แล้วพ่นกระหม่อมด้วยธาตุลมลูกจะออกมา แล้วเอาผ้าขาวห่อทารกที่ตาย เสกด้วย
ธาตุดิน ๗ คาบแล้วนำไปฝัง

– ถ้าจะสะกดคนให้หลับทั้งกองทัพ ให้จุดเทียนบูชาเทวดาแล้ว เอาไม้เผาผีตายวันเสาร์
เผาวันอังคารที่เอาไหม้ให้หมด ต้องเซ่นเอามา แล้วเอาใบตองแตก ใบชัยพฤกษ์ ใบหญ้านาง
ขึ้นบนจอมปลวก กำยาม และใบอื่นๆเป็นจำนวนมากมาสุมไฟทางเหนือลมของข้าศึกให้ลม
พัดควันไปถึง สุมไฟไปนั่งบริกรรมเสกด้วยธาตุลมกับธาตุน้ำ ๑๐๘ คาบ ข้าศึกจะหลับหมดสิ้น

– ถ้าจะทำให้กุ้งปลาเป็นจำนวนมาก ให้เอาข้าวสารมาเสกด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ๑๐๘ คาบ
เอาข้าวสารซัดลงไปในน้ำจะกลายเป็นกุ้งปลาเป็นจำนวนมาก

– ถ้าจะทำให้ศัตรูพินาศแพ้ภัย ให้บริกรรมด้วยธาตุไฟและลม เป่าชี้มือไปทางศัตรู แล้วเป่า
ไปเรื่อยๆ ศัตรูสู้ไม่ได้เกิดความร้อนรนเหมือนกับไฟเผาจนหนีกระเจิงไปหมดสิ้น

– ถ้าจะทำการป้องกันไฟ โจรผูร้านท่านให้เอาทรายมาเสก บริกรรมด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม
ไฟ ๑๐๘ คาบ ไปรอบๆบริเวณบ้าน โจรผู้ร้ายหาทางเข้าบ้านไม่ได้เลย ป้องกันภูตผีปีศาจด้วย

พระคาถาทั้ง ๔ ธาตุนี้ ท่านกล่าวว่ามีอานุภาพมาก จะทำสิ่งใดให้ปรารถนาเอา แล้วกระทำการ
ปลุกเสก จะสำเร็จผลตามความมุ่งหมายทุกประการ

ยังมีพระคาถาอีกบทหนึ่งของหลวงพ่อศุข ได้มีพระคณาจารย์เคยใช้ได้ผลมาแล้วมากต่อมาก
มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี ปืนยิงไม่ออก ถ้าออกก็ไม่ถูก ดังนี้

นะ อะสังวิสุโลบุสะภุภะ เพชคงกายยะ สัพพะพันธะนัง ฯ
โม อะสังวิสุโลบุสะพุภะ เพชคงกายยะ สัพพะพันธะนัง ฯ
พุธ อะสังวิสุโลบุสะพุภะ เพชคงกายยะ สัพพะพันธะนัง ฯ
ธา อะสังวิสุโลบุสะพุภะ เพชคงกายยะ สัพพะพันธะนัง ฯ
ยะ อะสังวิสุโลบุสะพุภะ เพชคงกายยะ สัพพะพันธะนัง ฯ
อะสังวิสุโลบุสะพุภะ นะเพชคงกายยะ นะโมพุทธายะมะอะอะฯ

ให้ยกครู ๘ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียน ๙ เล่ม ธูป ๙ ดอก หมาก ๙ คำ เมื่อยกครูแล้ว
ส่วนเงิน ๑ สลึง ๑ เฟื้องให้ใส่บาตรพระสงฆ์อุทิศให้ครูบาอาจารย์เสีย

พระคาถาบทนี้ท่านให้เสกผ้าหรือได้ผูกทำเป็นหัวพิรอด ให้เสก ๓-๗ คาบ เมื่อทำเสร็จแล้วให้
ทดลองเอาปืนยิงได้ ถ้าไม่ออกหรือออกไม่ถูกจึงใช้ได้ ถ้ายิงออกไปถูกแล้วยังใช้ไม่ได้ให้
ทำการปลุกเสกขึ้นใหม่ ทดลองจนเห็นผลประจักษ์จึงใช้ได้ ท่านกล่าวว่าถ้าทำการปลุกเสก ขึ้น
ครั้งแรกทดลองยิงไม่ออกหรือออกไม่ถูกแล้วครั้งต่อๆ ไปการปลุกเสกทำขึ้น พลังมนต์ พระคาถา
ก็ศักดิ์สิทธิ์ เหมือนเช่นเดิม การกระทำปลุกเสกหัวพิรอดนี้ มีพระคณาจารย์ทำขึ้นได้ผลประจักษ์
มาแล้วมากต่อมาก ฉะนั้นท่านพุทธศาสนิกชนผู้มีความเลื่อมใสศรัทธา จะทำไปประกอบกระทำ
พิธีปลุกเสกผูกด้วยเชือกด้ายหรือผ้าขาวทำเป็นหัวพิรอดดังกล่าวแล้ว ให้ท่านระลึกถึงหลวงพ่อศุข
ผู้เป็นบรมครูในวิชานี้ ท่านจะทำขลังและศักดิ์สิทธิ์ได้ผลประจักษ์ทันที

พระคาถาคัดของเสกอาวุธฟันแทงยิงว่าดังนี้

โรปุสุสะวิสุสังพะอะฯ

ท่านให้เสกบรรจุ ๓-๗ คาบ แล้วจึงยิงหรือฟันจะทนทานต่อาวุธนี้ไม่ได้เลย เมื่อต้องอาวุธนี้แล้วจะ
เจ็บปวดดังอสรพิษขบกัดน่าเวทนายิ่งนัก

บทสรรเสริญบูชาพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 พยางค์

โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ

นาเคนทะระ หารายะ ตะริโลจะนายะ
ภัสมางคะ ราคายะ มะเหศะวะรายะ
นิตยายะ ศุทะธายะ ทิคัมพะรายะ
ตัสไม นะการายะ นะมะศิวายะ

คำแปล : พระศิวะ ผู้มีสร้อยพระศอคือพระยานาค มีสามพระเนตร ทรงใช้ขี้เถ้าทาพระวรกาย
เป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ทรงคงอยู่ชั่วนิรันดร์ ผู้บริสุทธิ์หมดจด ผู้ใช้ทิศเป็นเครื่องนุ่งห่ม
อักษร “นะ” คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น

มันทากินี สะลิละ จันทะนะ จะระจิตายะ
นันทิศะวะระ ประมาถะ มะเหศะวะรายะ
มันทาระปุษปะ พะหุปุษปะ สุปูชิตายะ
ตัสไม มะการายะ นะมะศิวายะ

คำแปล : พระศิวะ ผู้ทรงลูบไล้พระองค์ด้วยน้ำจากแม่น้ำคงคาสวรรค์และกระแจะจันทน์
ผู้เป็นเจ้าสูงสุดควบคุมพระโคนนทิและหมู่ภูติผีปีศาจผู้เป็นบริวาร ผู้ได้รับการบูชาด้วยดอกมันทาระและดอกไม้มากมาย
อักษร “มะ” คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น

ศิวายะ เคารีวัทนาพะชะวะ รินทะ
สูระยายะ ทักษะ ธะวะระ นาศะกายะ
ศรีนีละกัณทายะ วะรึษะ ธะวะชายะ
ตัสไม ศิการายะ นะมะศิวายะ

คำแปล : พระศิวะ ผู้เป็นความดีความหลุดพ้น
ผู้ทำให้พระพักต์ที่งามเหมือนดอกบัวของพระนางปารวตีเบิกเบานเช่นเดียวกับที่พระอาทิตย์ทำให้กลุ่มดอกบัวบาน
ผู้ทำลายพิธีบูชายัญของท้าวทักษะ ผู้มีพระศออันงดงามเป็นสีน้ำเงิน ผู้มีรูปพระโคอยู่ในธงประจำพระองค์
อักษร “ศิ” คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น

วะสิษฐะ กุมโภทะภะวะ เคาตะมารยะ
มุนีนะทะระ เทวาระจิตะ เศขะรายะ
จันทราระกะ ไวศะวานะระ โลจะนายะ
ตัสไม วาการายะ นะมะศิวายะ

คำแปล : พระเศียรของพระศิวะได้รับการบูชาโดยมุนีเลิศ คือ ฤาษีวสิษฐะ ฤาษีอคัสตยะ ฤาษีเคาตมะ เป็นต้น
พวกเทวดามีพระอินทร์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นต้น
“วา” คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น

ยักษะ สะวะรูปายะ ชะตาธะรายะ
ปินากะ หัสตะตายะ สะนาตะนายะ
ทิวะยายะ เทวายะ ทิคัมพะรายะ
ตัสไม ยะการายะ นะมะศิวายะ

คำแปล : พระศิวะ ผู้ทรงอยู่ในรูปของยักษ์ ทรงมุ่นมวยผม
ทรงธนูปินากะที่เป็นพระเป็นเจ้าที่มีมาแต่ดั้งเดิมอยู่ในสวรรค์ ที่เป็นเทพผู้เปลือยพระวรกาย
อักษร “ยะ” คือพระศิวะ ข้าพเจ้าขอไหว้พระศิวะพระองค์นั้น

โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ
โอม นะ-มะ-ศิ-วา-ยะ



(ขอพรตามประสงค์ จากนั้นกล่าวคำว่า โอม ศานติ ศานติ ศานติ เพื่อขอความสงบสุขแก่สรรพชีวิต)

บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

(แบบย่อ)
ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร
อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต
มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ
สะทา โสตถิง กะโรนตุโน

คาถาอัญเชิญท้าวมหาราชทั้ง 4 และคาถาชุมนุมเทวดา

ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวธตรฏฐ์

แปล คาถาบูชาท้าวธตรฏฐ์ (ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรุฬหก

แปล คาถาบูชาท้าววิรุฬหก (ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าววิรูปักษ์

แปล คาถาบูชาท้าววิรูปักษ์ (ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมดล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

สวดอัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ

แปล คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว)

บทสวดบูชาท้าวจตุโลกบาล (แบบย่อ)

ตั้งนะโม ๓ จบ

ปุริมัง ทิสัง ธะตะรัฏ โฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ รูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา
ทัพทัฬหะมานะ อัฏฐังสุ สะทา โสตถิง กะโรนตุโน

สวดขอให้ท่านคุ้มครอง รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง และอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคล อำนาจ บารมี โภคทรัพย์ รวมถึงมงคลทั้งปวง

คาถา โองการท้าวมหาราชทั้งสี่ (ท้าวจตุโลกบาล)

ปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ

ป้องกัน ทั้งโรคภัย สัตว์ อสรพิษ อสูร ภูตผี ปีศาจ และมนุษย์

บทชุมนุมเทวดา

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ

(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบกและที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐที่เรากล่าวอยู่นี้….)

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

สวดภาวนา 3 ครั้ง

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม..

สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้น ต่างนับถือท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 จะเชิญมารักษางานต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองวัด งานทำบุญ การขอความคุ้มครองในวันปีใหม่ทุกปี

ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 จีน (ท้าวจาตุมหาราช) “ซี้ไต๋เทียงอ้วง” “ซือต้าเทียนหวัง”

พระพุทธเจ้าทรงมอบ พระธรรม ไว้แก่ ท้าวจาตุมหาราช หรือ ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 เก็บรักษา ให้เป็นผู้คุ้มครองรักษาพระศาสนา และนอกจากนี้ ยังพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และพุทธบริษัทอีกด้วย หากผู้ใดยึดมั่นใน พระธรรม ก็จะอำนวนความสุขสวัสดิ์

  1. ท้าวธตรฐมหาราช “ฉือกั๋วเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศบูรพา เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่าคนธรรพ์ (เที้ยว คือ ถูกต้อง) ถือพิณเป็นอาวุธ
  2. ท้าววิรุฬหกมหาราช “เจิงจ่างเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศทักษิณ เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่ากุมภัณฑ์ (โหว คือ ฝน) ถือร่มเป็นอาวุธ
  3. ท้าววิรุฬปักข์มหาราช “กว่างมู่เทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศปัจฉิม เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่านาค (ฮวง คือ ลม) ถือดาบและงูเป็นอาวุธ
  4. ท้าวกุเวรมหาราช (เวสสุวรรณ) “ตัวเหวินเทียนหวัง” เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ปกครองทิศอุดร เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลเหล่ายักษ์ (สุง คือ ราบรื่น) ถือเจดีย์เป็นอาวุธ

คาถาบูชาจ้าวปู่พญานาคาธิบดีศรีสุทโธ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา
นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
ทุติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา
นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
ตะติยัมปิ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา
นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ
เมตตัญจะมหาลาโภปิโยนาคะ ขันธปริตตัง

คาถาบูชาพญาศรีสัตตนาคราช

คาถาบูชาพญาศรีสัตตนาคราช

จุดธูปหอม 19 ดอก พวงมาลัยดอกมะลิ 1 พวง

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

กาเยะนะ วาจายะ วะ เจตะสาวา

อิมัง สิริสัตตะนาคะ ราชะนามะกัง

อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม

คำแปล

ข้าพเจ้า ขอน้อมกาย วาจา

และจิตใจ กราบไว้วันทา

พญานาคะราช นามว่า

ศรีสัตตนาคราชตนนี้

ขอความสุขสวัสดี จงบัง

เกิดมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ

พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา
นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ
สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ
นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ
สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา
วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ
อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิฯ

สวด 1 จบ พระคาถาบทนี้ศักดิ์สิทธิ มีคุณวิเศษดลให้แคล้วคลาด ปลอดภัย จากทั้งอันตรายและเคราะห์ร้ายต่างๆ มิว่าไปแห่งไหนจะมีคนเมตตารักใคร่สืบไปหัวใจ

พระอิติปิโส อนุโลมอะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะหัวใจ
พระอิติปิโส ปฎิโลมภะ พุ สะ ปุ โล สุ วิ สัง อะ